บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (“บริษัท”) ตระหนักและให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในเรื่องการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่านเป็นสำคัญ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) ฉบับนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ท่านได้ทราบและเข้าใจรูปแบบ วัตถุประสงค์ วิธีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย (รวมเรียกว่า “ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งสิทธิต่างๆ
ของท่านตลอดจนระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุประสงค์ในนโยบายนี้ บริษัทดำเนินการในฐานะ
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ซึ่งหมายความว่า บริษัทเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
คำนิยาม
“บริษัท” หมายถึง บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ
“ท่าน หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท ที่ปรึกษา ผู้บริหาร คู่ค้า คู่สัญญา ผู้สมัครงาน พนักงานประจำ พนักงานทดลองงาน นักศึกษาฝึกงาน และพนักงานตามสัญญาทั้งในปัจจุบัน
ในอดีตและที่เกษียณอายุแล้ว และบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรของบริษัท รวมถึงบริษัทฯ ในเครือทั้งหมด
“นโยบาย” หมายถึง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่กฎหมายกำหนดเป็นการเฉพาะ ซึ่งบริษัทจะเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวต่อเมื่อ บริษัทได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากพนักงาน หรือในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นตามกรณีที่กฎหมายอนุญาต
ทั้งนี้ บริษัทอาจต้องเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลพันธุกรรม ความพิการ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลชีวภาพ เป็นต้น
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม
ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่ง หรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายและแนวทางปฏิบัติ
บริษัทได้รวบรวม ใช้ จัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันของข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นในการดำเนินงาน ตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์
ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น โดยบริษัทจะแจ้งให้ท่านทราบ และขอความยินยอมก่อนเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนด และ/หรือ ในกรณีอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้
1) แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านผ่านหลายช่องทาง ดังนี้
1.1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านให้ไว้กับบริษัทโดยตรง : เช่น การกรอกแบบสอบถาม การกรอกใบสมัคร หรือ การกรอกใบสมัครออนไลน์และ / หรือผ่านช่องทางอื่นๆ (เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น) การสัมภาษณ์ หรือผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ หรือผ่านแอพพลิเคชั่น Line Facebook เป็นต้น
1.2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้เก็บรวบรวมจากท่านโดยอัตโนมัติ : บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลทางเทคนิคบางอย่างเกี่ยวกับอุปกรณ์ กิจกรรมและรูปแบบการเข้าชม ข้อมูลประวัติการใช้งานบนเว็บไซต์ (Browsing History) ของท่านอัตโนมัติโดยใช้คุกกี้ (Cookie Data) และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประกาศเกี่ยวกับคุกกี้ (Cookie Policy)
1.3) ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้รับมาจากบุคคลภายนอก : บริษัทอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านมาจากบุคคลภายนอกเป็นครั้งคราว เช่น เว็บไซต์หางาน บอร์ดสมัครงาน บริษัทตัวแทนจัดหางาน สื่อ Social Media หรือข้อมูลจากบุคคลอ้างอิง เป็นต้น
2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม การนำมาใช้ ประมวลผล หรือเปิดเผย จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการให้ข้อมูลของท่าน ทั้งนี้บริษัทมีความมุ่งหมายที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
2.1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น เป็นข้อมูลที่นำไปใช้เพื่อการจัดทำเอกสารสิทธิในการถือครองหุ้น ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้นของบริษัท เช่น ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล เป็นต้น
2.2) ข้อมูลส่วนบุคคลของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เป็นข้อมูลที่บริษัทนำไปใช้ประกอบการทำธุรกรรมหรือกระทำการต่างๆแทนบริษัท เช่น ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือ
บัตรประจำตัวอื่นๆ หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว ทักษะความสามารถ
ในการทำงาน ลายมือชื่อ ประวัติอาชญากรรม เป็นต้น
2.3) ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาและนักศึกษาฝึกงาน เป็นข้อมูลซึ่งรับโอนมาจาก
การกรอกข้อมูลในใบสมัครงาน เพื่อประกอบการพิจารณาจ้างงานและนำมาจัดทำเป็นทะเบียนประวัติของพนักงาน ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรบุคคล บริหารจัดการและพัฒนาบุคลากร จัดสวัสดิการ ดูแลสวัสดิภาพและสุขอนามัยให้กับพนักงาน การเพิ่มความรู้ทักษะความสามารถให้กับพนักงาน รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการ
ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบริษัท
2.3.1) ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาวุฒิการศึกษาในทุกระดับ สำเนาใบผ่านเกณฑ์ทหาร หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล Line ID รูปภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงาน สำเนาหนังสือรับรองการทำงาน สำเนาใบขับขี่ (เฉพาะผู้สมัครพนักงานขับรถ) ซึ่งอาจรวมถึงชื่อและที่อยู่ของนายจ้างเดิม ทักษะเกี่ยวกับงาน ลายมือชื่อ รูปถ่าย แผนที่ที่อยู่ปัจจุบัน เอกสารประกอบการค้ำประกันการทำงาน สำเนาเลขที่บัญชีธนาคาร
2.3.2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา หมู่เลือด ข้อมูลประวัติ
การตรวจสุขภาพ โรคประจำตัวและผลการตรวจสุขภาพของพนักงานตามรายการตรวจสุขภาพในแต่ละปี รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์ หรือแนวทางการรักษา ประวัติอาชญากรรม บันทึกเกี่ยวกับการดำเนินคดีไม่ว่าทางแพ่ง หรือ
การดำเนินคดีอื่นๆ รวมไปถึงรายงานประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลความพิการ ข้อมูลลายนิ้วมือ ข้อมูลการจดจำใบหน้า (Face Recognition) กรณีที่บริษัทได้ความรับยินยอมโดยชัดแจ้งแล้ว
2.3.3) ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว เช่น ข้อมูลคู่สมรส ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลบุคคลติดต่อฉุกเฉิน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หรือผู้รับผลประโยชน์จากสวัสดิการต่างๆ โดยท่านต้องแจ้งให้บุคคลเหล่านี้ทราบถึงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายฉบับนี้ก่อนการส่งมอบข้อมูลให้แก่บริษัทและขอความยินยอมหากจำเป็น เว้นแต่จะมีกฎหมายระบุข้อยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอม
2.3.4) ข้อมูลเกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น ตำแหน่งงาน สังกัด วันเริ่มงาน วันที่สิ้นสุดสภาพการเป็นพนักงาน อายุการทำงาน ค่าจ้างและผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากร การประเมินศักยภาพการทำงาน ประวัติการมาทำงาน การหยุดและการลา การทำงานล่วงเวลา การฝึกอบรม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม การเบิกใช้สวัสดิการ เหตุผลการลาออก การประเมินผลการทดลองงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การปรับตำแหน่งงาน การแต่งตั้ง การโยกย้าย การเปลี่ยนตำแหน่งงาน การลงโทษ ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางในหน้าที่การงานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งอุบัติเหตุและความปลอดภัยในที่ทำงาน เป็นต้น
2.3.5) ข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลที่ได้จากกล้องวงจรปิด (CCTV) ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวจากการ
เข้าร่วมกิจกรรม ข้อมูลจากการทำแบบทดสอบ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่บุคลากรเคยมอบให้แก่บริษัท เช่น ข้อมูลในใบสมัคร
ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวในการใช้กล้องวงจรปิด (CCTV Privacy Notice)
2.4) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร เป็นข้อมูลที่ท่านยินยอมให้ไว้เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกรับเข้าทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับใบสมัคร/แบบฟอร์มที่ท่านกรอก ซึ่งท่านได้กรอกข้อมูลในใบสมัครหรือแบบฟอร์มอื่นๆ เช่น
2.4.1) ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-สกุล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาวุฒิการศึกษาในทุกระดับ สำเนาใบผ่านเกณฑ์ทหาร หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล Line ID รูปภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงาน สำเนาหนังสือรับรองการทำงาน สำเนาใบขับขี่ (เฉพาะผู้สมัครพนักงานขับรถ) ซึ่งอาจรวมถึงชื่อและที่อยู่ของนายจ้างเดิม ทักษะเกี่ยวกับงาน ลายมือชื่อ รูปถ่าย
2.4.2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา หมู่เลือด ข้อมูลประวัติการตรวจสุขภาพ โรคประจำตัวและผลการตรวจสุขภาพของพนักงานตามรายการตรวจสุขภาพในแต่ละปี รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์ หรือแนวทางการรักษา ประวัติอาชญากรรม บันทึกเกี่ยวกับการดำเนินคดีไม่ว่าทางแพ่ง หรือการดำเนินคดีอื่นๆ รวมไปถึงรายงานประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลความพิการ กรณีที่บริษัทได้ความรับยินยอมโดยชัดแจ้งแล้ว
2.4.3) ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว เช่น ข้อมูลคู่สมรส ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลบุคคลติดต่อฉุกเฉิน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หรือผู้รับผลประโยชน์จากสวัสดิการต่างๆ โดยท่านต้องแจ้งให้บุคคลเหล่านี้ทราบถึงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายฉบับนี้ก่อนการส่งมอบข้อมูลให้แก่บริษัทและขอความยินยอมหากจำเป็น เว้นแต่จะมีกฎหมายระบุข้อยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอม
2.5) ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของสิทธิในที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือ ผู้ให้เช่าพื้นที่ เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นระหว่างเจ้าของข้อมูลและบริษัทเพื่อนำไปใช้ประกอบการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ทำสัญญาเช่าที่ดิน สัญญาเช่าสถานที่ และสัญญาอื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสัญญาที่ตกลงร่วมกัน เช่น ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ หรือทรัพย์สิน หมายเลขบัญชีธนาคาร เป็นต้น
2.6) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับเหมา ที่ปรึกษาโครงการ คู่ค้าหรือคู่สัญญาของบริษัท เป็นข้อมูลที่บริษัทนำไปใช้ในการจัดทำสัญญาการว่าจ้างผู้รับเหมา สัญญาที่ปรึกษาโครงการ รวมถึงในการซื้อขายกับคู่ค้าหรือคู่สัญญา เอกสารยื่นประกวดราคาหรือประมูลงานต่างๆ เช่น ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ บัตรวิชาชีพต่างๆ หนังสือเดินทาง หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่ อีเมล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสัญญาหรือเอกสารที่ต้องใช้ในแต่ละงาน
2.7) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่มาติดต่อในสถานที่ของบริษัท เป็นข้อมูลบันทึกการเข้า-ออก อาคารสำนักงานและรักษาความปลอดภัย และใช้สำหรับการตรวจสอบด้านความปลอดภัย โดยจัดทำบันทึกไว้ในสมุดบันทึกผู้ติดต่อเข้า-ออกอาคาร เช่น ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ เป็นต้น
2.8) ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่อาจจัดเก็บเพิ่มเติม เพื่อการตรวจสอบ บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บริษัทอาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบเอกสาร หรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นไป
3) วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทและกิจกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุผล (ฐานใน
การประมวลผลข้อมูล) ซึ่งอาจจะอาศัยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งหรือหลายเหตุผลประกอบกัน (รวมเรียกว่า“วัตถุประสงค์ที่กำหนด”) และภายใต้ฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้
3.1) เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามวัตถุประสงค์ (Contract) เช่น
ความจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้นหรือเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี อาทิ การคัดเลือกผู้สมัครงาน สัญญาจ้างแรงงาน การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการ วันหยุด วันลา การจัดทำประกันภัยกลุ่ม สิทธิประโยชน์และการบริหารจัดการด้านการสมัคร การจ่ายค่าจ้าง การพิจารณาตำแหน่งงาน การดูแลเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน
3.2) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือใช้บังคับ (Legal Obligation) เช่น
เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย อาทิ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายประกันสังคม กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานกฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท
3.3) เพื่อการดำเนินงานที่จำเป็นภายใต้ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล (Legitimate Interest) เช่น
การบันทึกภาพวงจรปิด (CCTV) หรือการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบ การบริหารจัดการบุคลากร การจัดกิจกรรม จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดการกระทำการทุจริต เป็นต้น
3.4) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของบริษัท (Public Task) หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่บริษัท
3.5) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (Vital Interest) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การติดต่อฉุกเฉิน การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ การเข้ารับบริการทางการแพทย์
3.6) ความยินยอม (Consent) เมื่อบริษัทไม่สามารถอาศัยข้อยกเว้นหรืออ้างอิงฐานทางกฎหมายตามกรณี
ที่ระบุข้างต้น ทั้งนี้ บริษัทจะขอความยินยอมเป็นการเฉพาะจากท่าน โดยบริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งและที่ได้รับความยินยอมจากท่าน หรือในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว บริษัทจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดหรือโดยได้รับความยินยอม
โดยชัดแจ้งจากท่าน
เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทจะดำเนินการประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามข้อ 3.1) ข้างต้น ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นเพื่อเข้าทำสัญญากับท่าน บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว หากท่านไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวแก่บริษัท อาจมีผลกระทบทางกฎหมายหรือบริษัทอาจจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้สัญญาที่ได้เข้าทำกับท่าน หรือไม่สามารถเข้าทำสัญญากับท่านได้ (แล้วแต่กรณี) ในกรณีดังกล่าว
บริษัทอาจมีความจำเป็นต้องปฏิเสธการเข้าทำสัญญากับท่าน
4) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดและตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ให้แก่หน่วยงานและบุคคลดังต่อไปนี้
4.1) หน่วยงานภายใน เช่น เจ้าหน้าที่ส่วนงานทรัพยากรบุคคล ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา ฝ่ายบัญชี
ฝ่ายสารสนเทศ เป็นต้น
4.2) หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมาย เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพากร กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมบังคับคดี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ธนาคารหรือหน่วยงานที่ขอให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดและศาล เป็นต้น
4.3) หน่วยงานอื่น เช่น นายจ้างใหม่ สถาบันฝึกอบรมภายนอก บริษัทประกัน / โรงพยาบาล (สวัสดิการของบริษัท) ผู้ตรวจสอบภายนอก ลูกค้าหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีที่บริษัทเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลอื่น บริษัทจะจัดให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เปิดเผยและเพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานและหน้าที่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
ในกรณีที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปต่างประเทศ บริษัทจะดำเนินการเพื่อทำให้แน่ใจว่าบริษัท ได้ส่งหรือโอนไปยังประเทศปลายทาง องค์กรระหว่างประเทศหรือผู้รับข้อมูลในต่างประเทศที่มีมาตรฐาน
ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอในบางกรณี บริษัทอาจขอความยินยอมของท่านสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
5) ระยะเวลาเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลา ดังนี้
5.1) บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้นๆ โดยระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลจะเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
5.2) บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ โดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติทางธุรกิจสำหรับแต่ละประเภทของข้อมูลส่วนบุคคล หลังจากระยะเวลาดังกล่าว บริษัทอาจจะมีการดำเนินการในขั้นตอนอันเหมาะสม เพื่อทำการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจากการจัดเก็บหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลได้
6) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร พนักงานและบุคลากรที่เหมาะสม ทั้งในเชิงเทคนิคและการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลส่วนบุคคลสูญหาย ถูกเข้าถึง ทำลาย ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ
7) สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่ในความควบคุมของท่านได้มากขึ้น โดยท่านสามารถใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด ดังต่อไปนี้
7.1) สิทธิที่จะเพิกถอนความยินยอม
ในกรณีที่บริษัทอาศัยความยินยอมของท่านในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับบริษัท ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูล
ส่วนบุคคลของท่านอยู่ในความครอบครองของบริษัท
7.2) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและขอให้บริษัททำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยโดยไม่จำ
ต้องขอความยินยอมจากท่าน
เว้นแต่กรณีที่บริษัทมีสิทธิปฏิเสธคำขอของท่านตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลและกรณีที่การขอเข้าถึงและ
รับสำเนาของท่านจะส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
7.3) สิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิที่จะขอรับข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับท่านในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงมีสิทธิขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวของท่านไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หรือตัวท่านเอง
เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
7.4) สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบริษัทจะดำเนินการดังกล่าว หากบริษัทอาศัยฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลภายนอก หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
เว้นแต่ในกรณีที่บริษัท สามารถแสดงให้เห็นถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่สำคัญยิ่งกว่า หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นไปเพื่อก่อตั้งสิทธิเรียกร้อง การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้อง หรือการยกข้อต่อสู้ตามกฎหมาย หรือกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ของการตลาดแบบตรง หรือกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติเว้นแต่เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของบริษัท
7.5) สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านอาจขอให้บริษัทลบหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล หากข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือเมื่อท่านถอนความยินยอมและบริษัทไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลของท่านต่อไปได้หรือเมื่อท่านคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ถูกเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
7.6) สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอให้ระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านร้องขอ หรือกรณีข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบหรือทำลาย แต่ท่านประสงค์ให้บริษัทระงับการใช้แทนหรือกรณีที่บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอีกต่อไป แต่ท่านมีความจำเป็นและขอให้บริษัทเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเพื่อใช้ในการก่อตั้งสิทธิ การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
7.7) สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
ท่านมีสิทธิขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง หากข้อมูลส่วนบุคคลของท่านนั้นไม่ถูกต้อง ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
7.8) สิทธิในการยื่นข้อร้องเรียน
ในกรณีที่บริษัทมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิ
ยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ หากท่านประสงค์ที่จะขอใช้สิทธิของท่าน ท่านสามารถขอใช้สิทธิผ่าน “แบบคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right Request Form)” โดยขอเอกสารได้ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท
กำหนดเวลาในการดำเนินการเมื่อท่านใช้สิทธิ
ประเภทสิทธิ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
สิทธิที่จะเพิกถอนความยินยอม |
7 วัน |
สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล |
30 วัน |
สิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล |
|
สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล |
|
สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล |
|
สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล |
|
สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง |
8) การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้สิทธิต่างๆ ตามรายการในข้อ 7) นั้น ท่าน ผู้สืบสิทธิ ทายาท ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมายต้องแจ้งให้บริษัทรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อดำเนินการตามการร้องขอภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
การดำเนินการของบริษัทตามการร้องขอตามสิทธิของท่านอาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการให้บริการหรือการทำธุรกรรมต่างๆ หรือการดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ท่านอันพึงจะได้รับภายใต้เงื่อนไขของบริษัทและตามที่กฎหมายกำหนด
9) ข้อสงวนสิทธิ
บริษัทขอสงวนสิทธิในการปฏิเสธการร้องขอ ตามข้อ 7) ในกรณีดังต่อไปนี้
9.1) กฎหมายได้ให้สิทธิบริษัทปฏิเสธการร้องขอของท่านได้
9.2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่ร้องขอเป็นข้อมูลที่ไม่ปรากฏชื่อหรือบอกลักษณะอันสามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
9.3) ผู้ร้องขอไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้มีอำนาจ / ผู้มีส่วนได้เสียกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในการกระทำการแทนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
9.4) ไม่ปรากฏข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในการจัดเก็บรวบรวมของบริษัท
9.5) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้มีอำนาจ / ผู้มีส่วนได้เสียกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้ร้องขอให้บริษัทดำเนินการในลักษณะเดียวกัน หรือมีเนื้อหาเดียวกันซ้ำๆ เกินความจำเป็น หรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
10) การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะปรับเปลี่ยนมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและตามมาตรฐานที่กฎหมายได้กำหนด
ในกรณีบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ โดยการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ, ป้ายประชาสัมพันธ์, สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่นๆ ตามความเหมาะสมในการสื่อสารกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
11) การติดต่อสอบถาม
หากท่านมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ท่านสามารถติดต่อส่วนงานทรัพยากรบุคคลของบริษัท โดยใช้รายละเอียดการติดต่อ ดังต่อไปนี้
รายละเอียดผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อบริษัท : บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : 417 ถนนราชวิถี แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์ : 02-435-1054
อีเมล : info@nldplc.com
นโยบายและประกาศ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565